วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิธีการเลี้ยงสุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียน


 
 
1.อาบน้ำปอมอย่างถูกวิธี

การที่จะรักษาขนของสุนัขปอมเม อเรเนียนให้สวยงามนั้นทำได้ง่ายมาก เจ้าของสุนัขใหม่ๆส่วนใหญ่จะเชื่อว่าจะต้องอาบน้ำให้สุนัขทุกสัปดาห์และต้อง คอยแปรงข
นตลอด ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดและจะทำให้ขนของเค้าเสียอีกด้วย

การ อาบน้ำบ่อยเกินไปจะทำให้ขนของปอมเมอเรเนียนแห้ง บาง และทำให้ขนร่วงตลอดเวลา การใช้โลชั่นและน้ำยาทำความสะอาดชนิดต่างๆติดต่อกันก็จะทำให้ผิวหนังอักเสบ ได้ ส่วนใหญ่แม้ว่าขนชั้นนอกจะสกปรกแล้วแต่ขนชั้นในก็จะยังคงสะอาดอยู่ ด้งนั้นการแปรงขนเพียงสัปดาห์ละครั้งและใช้ฟองน้ำชุบน้ำสบู่อุ่นๆ ลูบขน จากนั้นจึงเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำสะอาดอุ่นๆ ซึ่งบิดพอหมาดๆ ก็นับว่าเพียงพอที่จะทำให้ขนของปอมเมอเรเนียนอยู่ในสภาพดีแล้ว

ลูกสุนัข


 

เราไม่ควรอาบน้ำให้มันถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดให้แห้งเช็ดความสกปรก หรือใช้แปรงและหวีขนเบาๆ ก็เพียงพอแล้วสำหรับการทำความสะอาดลูกสุนัข

การอาบน้ำลูกสุนัขควร เริ่มเมื่ออายุได้ 3 เดือนขึ้นไป ควรพิจารณาว่ามีความสะอาดมากน้อยเพียงใดมีเห็บหมัดติดมาด้วยหรือไม่ หากมีก็อาบน้ำให้ลูกสุนัขเพื่อป้องกันโรคผิวหนังและการระบาดของเห็บหมัด

 สุนัขโต สามารถอาบน้ำได้ทุกๆ 1-2 สัปดาห์หรือเมื่อคุณเห็นว่ามีเนื้อตัวที่สกปรก การอาบน้ำควรอาบในเวลากลางวันที่มีแดดออก แต่ไม่ถึงกับเป็นแดดที่จัดเกินไป ควรเป็นแสงแดดอ่อนๆ ไม่หนาว ไม่มีฝนตก คือสามารถให้สุนัขผึ่งตัวให้แห้งหรือใช้เครื่องเป่าขนของสุนัขให้แห้งโดย เลือกระดับค
วามร้อนต่ำ

แชมพูที่ใช้อาบน้ำให้สุนัขควรเป็นแชมพู ที่ผลิตโดยเฉพาะ เพราะจะไม่ส่งผลกระทบต่อการระคายเคืองของผิวหนังและสภาพขน ในขณะอาบน้ำอาจจะใช้สำลีอุดรูหูทั้งสองข้างก่อนอาบ หรือใช้มือกดใบหูทั้งสองข้างให้หลุบลง เวลาอาบน้ำควรราดน้ำให้เปียกทั่วตัวก่อนแล้วจึงเทแชมพูลงไปแล้วเกาให้ทั่วลำ ตัว หลังจากนั้นก็ใช้น้ำล้างสบู่ออกให้สะอาดหมดจด เมื่ออาบเสร็จก็ต้องเช็ดตัวให้แห้งพร้อมกับแปรงขนทุกครั้ง การเช็ดตัวให้แห้งเป็นการป้องกันความอับชื้นซึ่งเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค และช่วยป้องกันโรคปอดบวมได้


2.การดูแลขนลูกสุนัข

ใน ขณะที่ลูกสุนัขปอมเมอเรเนียนมีอายุอยู่ระหว่าง 6-8 สัปดาห์ ขนของเค้าจะหนาปุกปุยจนแทบมองไม่เห็นใบหู เมื่ออายุได้ 3 เดือนขนจะมีลักษณะขยุกขยุยและจะสลัดขนชุดแรกเพื่อที่จะเตรียมสลัดขนชุดที่ สองตอนอายุ
ได้ 4-5 เดือน หลังจากสลัดขนชุดที่สองแล้ว ขนของปอมเมอเรเนียนจะสั้น และจะเริ่มปุกปุยอีกครั้งเมื่ออายุราว 6 เดือน เมื่อครบ 10 เดือนขนจะเริ่มหนาและชี้ออก ขณะที่ผิวสัมผัสและสีของเส้นขนจะค่อยๆ ปรับสภาพจนเข้าที่และจะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ

อุปกรณืเพียงอย่างเดียวที่จำเป็นในการดูแลรักษาขนของ ลูกสุนัขให้อยู่ในสภาพดี คือแปรงสำหรับแปรงขนสุนัข ก่อนอื่นให้ใช้หวี หวีขนที่ติดพันกันออกเสียก่อน ถ้าหากคุณได้แปรงขนเค้าเป็นประจำ ลูกสุนัขก็จะมีขนที่สุขภาพดี นุ่มสลวยไม่พันกัน



3.การแปรงขนต้องเลือกขนแปรง

สำหรับ ปอมเมอเรเนียนนั้นเป็นขนแบบสองชั้น เราจึงควรให้ความสำคัญกับขนของมันพอสมควร เพราะขนของปอมเมอเรเนียนเป็นขนที่พันกันได้ง่าย เราควรใช้แปรงซี่ห่างในการแปรง หวีวันละครั้ง การแปรงขนให้แปรงจากบริเวณกระหม่อมลงไปที่หางแล้วแปรงย้อนกลับมาที่ศีรษะอีก ครั้ง เพื่อให้ขนฟูตั้งชัน จากนั้นจับเค้านอนบนตักแล้วแปรงขนบริเวณท้องและขา การหวีต้องหวีให้ถึงโคนขน การหวีแบบนี้จะสามารถขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ ที่อยู่บริเวณใต้ขนออกมา ทำให้ขนเก่าร่วงออกไป พร้อมที่จะให้ขนใหม่แทนที่ ทำให้ปอมเมอเรเนียนของคุณมีขนที่หนานุ่ม และการแปรงขนยังมีผลดีต่อสุขภาพของสุนัขอีกด้วยเพราะจะป็นการนวดต่อมน้ำมัน ที่โคนขนข
ับน้ำมันออกมาเพื่อเคลือบขนได้มากขึ้น ทำให้ผิวหนังมีสุขภาพสมบูรณ์ขึ้นอีกด้วย







4.การตัดแต่งขน

ขน ของปอมเมอเรเนียนจะต้องตัดให้สั้นเรื่อยลงไปถึงโคนหาง เมื่อตัดแล้วหางจะวางราบอยู่บนแผ่นหลัง ขนที่หร็อมแหร็มจะต้องตัดให้สั้นเสมอกัน ขนยาวๆบางส่วนบริเวณสองข้างของอวัยวะขับถ่ายจะต้องตัดออกเพื่อสุขอนามัยที่ ดี

ขนที่เท้าหน้าควรตัดให้สั้นเหมือน"เท้าแมว"ซึ่งมี ลักษณะกลมมนและเรียบ ขนสั้นๆที่ขาหน้าควรตัดเฉพาะด้านข้างและด้านหลัง ด้านหน้าไม่ควรตัด ส่วนขนที่ขาหลังก็ตัดในลักษณะเดียวกับขาหน้า โดยตัดให้สั้นถึงข้อเท้าข้อแรก

ส่วนที่ยากที่สุดในการตัดขนก็คือ"ใบ หู"ให้จับใบหูด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ โดยใช้เล็บป้องกันส่วนที่เป็นเนื้อเยื้อเอาไว้ให้มั่น แล้วจึงใช้กรรไกรปลายทู่ตัดขนที่ยื่นออกมาจากปลายเล็บไปตามขวาง โดยตัดขนด้านในของใบหูประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่นิ้ว ส่วนด้านนอกตัดออกประมาณเศษหนึ่งส่วนสามหรือครึ่งนิ้ว

ไม่ควรปล่อย ให้ปอมเมอเรเนียนมีหนวดมากเกินไป เพราะจะดูไม่สะอาดและไม่น่ารักเท่าที่ควร วิธีการตัดหนวดให้ใช้นิ้วต่างๆของคุณบังตาเจ้าตัวเล็กเอาไว้ แล้วค่อยๆตัดเล็มออกด้วยกรไกรแบบปลายทู่เพื่อป้องกันอันตรายหากเค้าเกิดสบัด หัวขึ้นม
า บริเวณตาและใต้ขากรรไกรควรระมัดระวังมาเป็นพิเศษ



5.การตัดเล็บ

สุนัข ที่เลี้ยงโดยปล่อยให้วิ่งเล่นตามสนามหญ้าหรือพื้นปูน โดยทั่วไปแล้วเล็บจะสึกหรอไปเองจากการเสียดสีกับพื้น ส่วนสุนัขที่เลี้ยงในบ้านอย่างปอมเมอเรเนียนเล็บจะมีโอกาสยาวมากกว่า การตัดเล็บควรจะตัดหลังจากการอาบน้ำใหม่ๆ เพราะเล็บที่เปียกน้ำอยู่จะอ่อน และจะตัดง่ายกว่าธรรมดา ควรใช้กรรไกรสำหรับตัดเล็บสุนัขโดยเฉพาะ วิธีการตัดที่ทำได้ง่ายและปลอดภัยสำหรับมือใหม่หัดตัดคือพยายามตัดเฉพาะที่ ปลายเพียง
เล็กน้อย ให้ตัดที่ละนิดเข้าไป ไม่ควรเกิน 3 มิลลิเมตร ระวังอย่าตัดให้ถูกปลายประสาทสีชมพูในเล็บเพราะส่วนนั่นคือส่วนที่มีเลือดมา หล่อเลี้
ยง แต่ถ้าเผลอไปโดนเข้าก็ให้ใช้สำลีชุบทิงเจอร์ไอโอดีนกดไว้ที่ปลายเล็บแน่นๆ สักพัก เลือดก็จะหยุดไหลเอง



6.การดูแลหู

ปอม เมอเรเนียนเป็นสุนัขที่หูตั้งจึงไม่ต้องดูแลเอาใจใส่หูเท่าที่ควร หากสังเกตแล้วว่าสุนัขมีหูที่สกปรกมากแล้ว ก็ควรใช้สำลี หรือผ้านุ่มๆเช็ดบริเวณใบหู และรูหูส่วนนอกๆได้เป็นประจำ หากพบว่ามีสิ่งสกปรก หรือเห็บหมัด เกาะติดอยู่ในช่องหูซึ่งเอาออกอยาก ปัจจุบันนี้มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับน้ำยาทำความสะอาดหูสุนัข โดยการหยอดน้ำยานี้ลงไปในหูของสุนัข ทิ้งไว้สักประมาณ 5 นาที สิ่งสกปรกต่างๆจะอ่อนตัวลง และสามารถใช้แท่งสำลีเช็ดออกได้อย่างง่ายดาย การทำความสะอาดหูควรทำหลังจากที่อาบน้ำให้กับสุนัขแล้ว เพื่อเป็นการตรวจสอบว่ามีน้ำหลงเหลืออยู่ในรูหูอยู่หรือไม่ ถ้ามีจะได้เช็ดออกให้แห้ง เพื่อเป็นการป้องกันโรคหูอักเสบด้วย แต่อย่าพยายามทำความสะอาดลึกลงไปที่หูชั้นในเป็นอันขาด เพราะเป็นบริเวณที่สำคัญและอ่อนบาง ควรให้สัตวแพทย์เป็นคนดูแลจะดีกว่า



7.การดูแลดวงตา

สุนัข ที่ดีจะมีแววตาที่แจ่มใส ไม่ขุ่นมัว แดงช้ำ อักเสบ หรือมีขี้ตาเกรอะกรัง ถ้าสังเกตเห็นว่าสุนัขมีอาการตาแดงและมีน้ำตาไหลเป็นระยะๆ อาจเกิดจากการอักเสบเพราะผงเข้าตา ในส่วนนี้เราสามารถใช้น้ำยาล้างตาประมาณ 4-5 หยด เพื่อเป็นการชะล้างเอาสิ่งสกปรกจากดวงตา แล้วใช้ผ้าสะอาดเช็ดบริเวณดวงตาให้สิ่งสกปรกออกไป หากไม่หายหรือมีอาการอื่นใดมากกว่านี้รีบนำไปพบสัตวแพทย์ทันที

สุนัข พันธุ์ปอมเมเรเนียนเป็นสุนัขพันธุ์ที่อาจเกิดปัญหากับเรื่องของดวงตาได้ คือมักจะพบอาการที่ดวงตาเป็นฝ้า หรือลักษณะคล้ายต้อ ตรงส่วนนี้เจ้าของสุนัขต้องมีการสังเกตสุนัขของตนว่า ลูกตาของสุนัขมีฝ้าที่เป็นเยื่อบางๆปิดบังบริเวณดวงตาของสุนัขหรือไม่ หากเราพบเห็นแต่เนิ่นๆ การรักษาก็จะง่ายขึ้น



8.การดูแลฟัน

โดย ปกติฟันของสุนัขจะผุยากมาก แต่ที่จะพบเห็นบ่อยก็เป็นเรื่องของอาการเหงือกอักเสบ อันเกิดจากความไม่สะอาดของฟันสุนัข ที่มีการหมักหมมคราบอาหารในช่องปาก ทำให้มีคราบสีเหลืองหรือที่เรียกว่าหินปูนติดอยู่บริเวณฟันของสุนัข ซึ่งจะลุกลามไปสู่เหงือก ทำให้เหงือกอักเสบ มีกลิ่นปาก จนกระทั่งฟันหลุดไปในที่สุด

วิธีการป้องกันการเกิดคราบหินปูนที่จะ เกิดกับสุนัขก็คือ ควรให้สุนัขได้กินอาหารเม็ดแห้ง เพราะเม็ดอาหารเหล่านี้จะเข้าไปขัดทำความสะอาดเคลือบฟันได้ หรืออาจให้แทะกระดูกเทียมที่ทำมาจากวัสดุต่างๆที่ช่วยขัดฟัน ถ้าจะให้ได้ผลดีจริงๆควรพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ให้ตรวจฟันทุกปี



9.การออกกำลังกาย

การ ออกกำลังกายมากๆ หรือใช่พื้นที่เยอะๆ ไม่ค่อยจำเป็นสำหรับปอมเมอเรเนียน แต่เราควรหันมาใส่ใจสักนิด ควรเริ่มพาสุนัขออกกำลังกายตั้งแต่ยังเล็กเพราะจะสามารถควบคุมเวลาในการออก กำลังกายไ
ด้ ควรให้เดินเล่นวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 นาที ถ้าปล่อยให้วิ่งเล่นกลางแจ้งนานเกินไป(โดยเฉพาะเวลาที่แดดจัด)อาจทำให้สุนัข เกิดอากา
รช็อค อาการนี้อาจส่งผลให้สุนัขเสียชีวิตได้


การ นำสุนัขออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยทำให้สุนัขท้องผูก และสามารถป้องกันโรคได้อีกหลายๆชนิด การที่สุนัขได้วิ่งด้วยความเร็วและสนุกสนาน มีผลดีต่อหัวใจ หลอดเลือด กล้ามเนื้อ ต่อมขับต่างๆ ได้อุ่นเครื่องจนร้อน เมื่อกลับจากการออกกำลังกายก็สามารถกินอาหารได้มากขึ้น ยิ่งถ้าได้อาหารที่ถูกต้องยิ่งทำให้สุนัขมีสัดส่วนที่ดี ร่างกายที่แข็งแรง รวมถึงมันจะมี step การเคลื่อนไหวที่ดี และสวยงาม อย่างไรก็ดีไม่ควรให้สุนัขออกกำลังกายหลังจากที่กินอาหารอิ่มเต็มที่



วิธีการเลี้ยงสุนัขพันธุ์ชิสุ

การดูแลสุนัขพันธ์ชิสุ


200px-shih_tzu_portrait_show_dog 

 

ลักษณะสายพันธ์

           ชิสุ เป็นสุนัขขนาดเล็กในกลุ่มทอย (Toy Group) มีน้ำหนักประมาณ 4.5 - 7.5 กิโลกรัม (หรือราว 10 - 16 ปอนด์) ส่วนสูงประมาณ 25 - 27 ซม. (หรือราว 10 - 11 นิ้ว) เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก มีลักษณะนิสัย กล้าหาญ มีความตื่นตัว ขี้ประจบ มีความสง่าอยู่ในตัว เดินหน้าเชิด การย่างก้าวสง่าผ่าเผย นอกจากนี้ยังรักความสะอาด เป็นมิตรกับทุกคน ปรับตัวได้ดี และชอบที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ กับเจ้าของในทุกเรื่อง แล้วก็ไม่ชอบถูกทิ้งไว้ในบ้าน         ข้อบกพร่องของสุนัขพันธุ์ชิสุที่จัดว่าร้ายแรงตามมาตรฐานของ AKC : American Kennel Club (สมาคมสุนัขแห่งสหรัฐอเมริกา) ที่ยอมรับกันทั่วโลก มีดังนี้ 

ข้อบกพร่องของสุนัขพันธ์ชิสุ

           ข้อบกพร่องของสุนัขพันธุ์ชิสุที่จัดว่าร้ายแรงตามมาตรฐานของ AKC : American Kennel Club (สมาคมสุนัขแห่งสหรัฐอเมริกา) ที่ยอมรับกันทั่วโลก มีดังนี้ 
           - ศีรษะแคบเกินไป
            - ฟันบนเกยฟันล่าง
            - ขนสั้น หรือขนที่ได้รับการขลิบให้สั้น
            - จมูกหรือหนังบริเวณขอบตาสีชมพู
            - ดวงตามีขนาดเล็กหรือมีสีจาง
            - ขนบาง ไม่ดกหนา
            - มุมหักตรงช่วงรอยเชื่อมระหว่างจมูกและหน้าไม่เด่นชัด

 

อาหารและการเลี้ยงดู

 

Spd_20080908172928_b 

 

อาหารที่เหมาะกับเจ้าชิสุสุดสวย ควรเป็นอาหารเม็ดมากกว่าอาหารกระป๋อง เพราะสุนัขมีขนยาว หากให้กินอาหารกระป๋องจะทำให้เลอะหนวดเครา เหม็นคาว ทำให้ต้องทำความสะอาดกันทุกครั้งไป และหากล้างออกไม่หมดก็จะกลายเป็นที่สะสมของเชื้อโรค อีกทั้งถ้าให้อาหารกระป๋องต้องใช้ให้หมดในคราวเดียว ไม่เช่นนั้นจะเสี่ยงต่อสุขภาพของสุนัขตัวโปรดของคุณได้            ดังนั้น ทางเลือกที่เหมาะที่สุดเห็นจะเป็นอาหารเม็ด ทั้งนี้ การเลือกซื้อควรเลือกประเภทสำหรับสุนัขพันธุ์เล็ก โดยเลือกดูให้เหมาะกับช่วงวัย เช่น ถ้าเป็นอาหารลูกสุนัข ข้างถุงจะพิมพ์ไว้ว่า Puppy มีโปรตีนมากกว่า เม็ดจะเล็กกว่า และจะแพงกว่าอาหารสุนัขโตนิดหน่อย

          
ชิสุมีอายุค่อนข้างยืนยาวคือประมาณ 10-18 ปี ตามแต่ปัจจัยต่างๆ เช่น อาหาร และการเลี้ยงดู โรคที่มักเกิดขึ้นกับชิสุคือโรคตาแห้ง โรคหูน้ำหนวก หูอักเสบ โดยเจ้าของควรหมั่นทำความสะอาดตาและหูของมันอย่างสม่ำเสมอด้วยผลิตภัณฑ์ทำ ความสะอาดของมันโดยเฉพาะ โรคอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น โรคนิ่ว โรคไต และไส้เลื่อน

          
ปกติชิสุจะเป็นมิตรกับคน นิ่งและดูสงบ ดูจะเป็นสุนัขอารมณ์ศิลปินซะด้วย หลายครั้งที่พบว่ามันจะไม่เชื่อฟังเราถ้ามันไม่อยากทำซะอย่าง แต่อย่างไรก็ตามมันก็ชอบวิ่งและรักความสนุกซึ่งเจ้าของจำเป็นจะต้องพามันออก ไปวิ่งออกกำลังกายบ้าง
ขนเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดความสวยงาม โดยเฉพาะชิสุเป็นสุนัขพันธุ์ขนยาว ที่จะต้องดูแลมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีขนเส้นเล็กและพันกันได้ง่าย หากไม่รู้จักวิธีการรักษาขนให้ดี ขนของเขาจะพันกันและมีโอกาสเป็นโรคผิวหนังได้ง่ายๆ 
          
ทั้งนี้ การแปรงขนอย่างสม่ำเสมอทุกวันจะช่วยให้ผิวหนังและขนสะอาดเป็นเงางาม เพราะมีการนวดให้ต่อมน้ำมันที่โคนขนขับน้ำมันออกมาเคลือบเส้นผมได้มากขึ้น ทำให้ผิวหนังมีสุขภาพสมบูรณ์ และยังเป็นการช่วยขจัดรังแคและสิ่งสกปรกอื่นออกจากผิวหนังด้วย
ในขั้นแรกเราต้องแปรงขนสุนัขให้ทั่วก่อนอาบน้ำ เพื่อสางขนที่พันกันออกก่อน เพื่อที่เวลาอาบน้ำ ขนจะได้ไม่พันกัน ซึ่งจะแกะออกลำบาก จากนั้นก็ใช้กรรไกรตัดเล็บสุนัข ตัดเล็บเท้าทั้งสี่ข้างออกให้หมด และใช้แบตตาเลี่ยนไถขนไต้อุ้งเท้าออกทั้ง 4 ข้าง เหตุที่ต้องไถขนที่ใต้อุ้งเท้าก่อนอาบน้ำ ก็เพื่อเวลาอาบเราจะได้ทำความสะอาดได้ทั่วถึงยังไงหละค่ะ
เสร็จแล้วเราจึงใช้แปรงหวีขนที่หางให้เรียบ แล้วจับรวบหางขึ้น และใช้แบตตาเลี่ยนไถขนบริเวณโคนหาง ที่ต้องไถบนที่โคนหางเพื่อทำให้ตำแหน่งหางสูงขั้น จึงควรพิถีพิถันตรงจุดนี้ด้วยเช่นกัน       เสร็จขั้นตอนก่อนอาบน้ำแล้ว ก็ถึงเวลาเปียกกันได้แล้ว การอาบน้ำสุนัขพันธุ์ชิสุ



ขั้นแรกใช้ฝักบัวฉีดน้ำให้ทั่ว และควรใช้น้ำอุ่นจะช่วยทำให้เลือดหมุนเวียนดี ขั้นตอนนี้ใช้เวลานานสักหน่อย เพราะขนสุนัขพันธุ์ชิสุหนาจึงควรราดน้ำให้ทั่วจริง ๆ เพื่อเวลาฟอกแชมพูจะได้สะอาดทั่วถึง 
จึงใช้น้ำล้างแชมพูออกให้หมด อย่าให้แชมพูหลง เหลืออยู่ มิฉะนั้นสุนัขจะคันและเกาจนเป็นแผลได้สำหรับแชมพูที่ใช้ ก็คือแชมพูที่คนใช้นี่แหละคะ ท่านใช้อย่างไหนสุนัขใช้อย่างนั้นได้เหมือนกัน เพียงแต่ท่านต้องนำแชมพูมาผสมให้เจือจางเสียก่อนเมื่อราดน้ำจนทั่วตัวสุนัขแล้วราดแชมพูที่ผสมจนเจือจางให้ทั่ว จากนั้นใช้มือลูบๆ อย่าเกา เพราะจะทำให้ขนพันกันเมื่อใช้มือลูบและนวดจนทั่วแล้ว

ใช้มือบีบขนไล่น้ำออกก่อนจะเช็ดตัว การเช็ดตัวก็ต้องมีเทคนิคด้วยนะคะ
 
วิธีการเช็ดตัวใช้ผ้าเช็ดลงตามขนอย่าขยี้ เพื่อขนจะได้ไม่พันกัน
จากนั้นก็นำมาเป่าด้วยไดร์เป่าผม ใช้แปรงช่วยแปรงโดยเริ่มจากด้านนอกก่อน เพื่อสุนัขจะได้อุ่นเพราะเมื่ออาบน้ำเสร็จใหม่ๆขนของเขาก็เหมือน กับผ้าเย็นๆ ห่อตัวเขาอยู่ เพราะฉะนั้นเราจึงควรไดร์ขนข้างนอกให้แห้งก่อนเพื่อช่วยให้เขาอุ่นขึ้น
สุนัขที่ยังเล็ก ๆ เราเริ่มไล่ตั้งแต่หัวไปก่อน เพื่อความสะดวก จากนั้นก็ไล่ไปเลื่อยจนสุดปลายหาง แต่ตัวใหญ่จะไล่จากหางไปหัว เวลาทำก็จะแบ่งซีกทำทีละครึ่งตัว และต้องแบ่งขนตั้งแต่เล็ก ๆ ซึ่งจริงแล้วตามธรรมชาติขนของชิสุจะแสกกลางเอง เพราะขนเขามีน้ำหนักพอที่จะแบ่งเองได้ แต่จะสวยสู้เราแบ่งให้เขาตั้งแต่เล็ก ๆ ไม่ได้
หลังจากไดร์พร้อมกับใช้แปรงช่วยแปรงให้ขนด้านนอกแห้งหมาดๆ ทั่วตัวแล้ว เราจึงเริ่มแปรงอย่างละเอียดอีกครั้ง โดยเริ่มจากลำตัวด้านซ้ายของสุนัขก่อน แต่จริงๆ แล้วเราจะเริ่มทำจากด้านไหนก่อนก็ได้ แต่เหตุผลที่เราควรเริ่มจากด้านซ้ายก่อน เพราะด้านซ้ายเป็นด้านที่เราใช้โชว์ให้กรรมการเห็นเวลาโพส์ทท่าในสนามประกวด ด้านซ้ายนี้เราจึงพิถีพิถันมากหน่อยใช้มือเปิดขนขึ้นเป็นชั้น ใช้แปรงๆ ไปเรื่อยๆ พร้อมกับใช้ไดร์เป่าจนแห้งถึงชั้นในสุด
จากนั้นก็จับสุนัขยืนขึ้นและใช้แปรงๆ ขนลง ทำเช่นเดียวกันกับทางด้านขวา และเริ่มเป่าขนบริเวณด้านหน้าให้แห้ง พร้อมกับใช้แปรงช่วยแปรงจากนั้นมาเป่าใต้ท้องให้แห้ง เมื่อแห้งทั่วตัวแล้วจึงใช้หวีที่หางยาวแสกขนกลางลำตัวให้ตรง เริ่มจากก้นจนถึงหัวแล้วแปรงขนทั้งสองข้างให้เรียบเท่ากัน จึงจะลงมือตัดขนที่ยาวเกินพื้น ที่บริเวณเท้าทั้งสี่ข้างให้เสมอกับเท้าสุนัข  ใช้มือลูบขนลงและจับขนบริเวณขารวบแล้วให้กรรไกรค่อย ๆ ตัดแต่งให้เสมอกับฝ่าเท้า ขนที่เท้าควรตัดให้กลมไม่สั้นและไม่ยาวจนเกินไปและระวังแหว่งด้วยนะคะ
                เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้วก็ใช้หวีๆ ขนที่หน้าฝากขึ้นและแสกขนบริเวณหนวดให้สวยงาม จากนั้นจึงใช้ยางมัดขนมัดจุก ถ้าตัวไหนมีขนบริเวณนี้เยอะ ก็จะแบ่งมัดเป็นสองจุกแล้ว จึงมัดรวบรวมกันเป็นจุกเดียวอีกทีหนึ่ง แต่ถ้าตัวไหนขนน้อยก็มัดเป็นจุกเดียวก็พอ แหละนี้คือการสาธิตถึงแค่ขั้นตอนการดูแลรักษาขนแต่ยังไม่สาธิตวิธีการแต่งจุกเพื่อการประกวดถ้ามีโอกาสเราจะนำมาแนะนำอีกครั้งหนึ่ง  
             สำหรับวิธีการเก็บขนสุนัขที่โตแล้วมีขนที่ข้างแก้มและขนที่กลางศีรษะยาว เราก็มีวิธีการรักษาขนส่วนนี้ไม่ให้พันกันโดยการมัดยางรวบไว้
   หรืออาจจะใช้กระดาษห่อขนไว้ ส่วนขนที่กลางศีรษะก็ใช้กระดาษห่อแล้วพับทบไปมา เมื่อท่านจะแกะยางออกจากขนก็ให้ใช้กรรไกรตัดอย่าเอามือดึงออกมาเพราะขนจะขาดหมด สำหรับการอาบน้ำให้อาบอย่างน้อยห้าวันครั้งแต่ต้องแปรงขนทุกวัน

แปรงสำหรับแปรงขน

โรคและวิธีการป้องกัน
             โรคตาแห้ง เป็นโรคที่มักเกิดกับสุนัขพันธุ์ชิสุ เพราะมีดวงตากลมโต ลูกตาเปิดกว้าง ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย อีกทั้งยังมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุกับดวงตาด้วย ทั้งนี้ อาการของโรคตาแห้ง  แห้ง คือน้ำตาน้อย ก็ต้องรักษาด้วยการหยอดตาต่อเนื่อง อาจจะนานๆครั้ง หรือไม่ก็ตลอดชีวิต สำหรับการดูแลรักษา อย่างแรกเลยผู้เลี้ยง ควรเจ้าของควรหมั่นทำความสะอาดตาอย่างสม่ำเสมอด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโดยเฉพาะ และเมื่อเห็นความผิดปกติของลูกตาให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที เพราะ ถ้าทิ้งไว้นาน อาจทำให้ติดเชื้อ แก้วตาละลาย ถึงขั้นตาบอดได้ อีกอย่างถ้าพามาตั้งแต่แรกเริ่มก็จะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ไม่สูงมากนัก

           โรคหูน้ำหนวก หูอักเสบ ส่วนใหญ่เป็นการอักเสบของช่องหูภายนอกที่เรียกว่า "otitis externa" เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาการของสุนัขที่ป่วยหูอักเสบ ได้แก่ มีกลิ่นเหม็น ชอบเกาหู หรือเอาหู (หัว) ไปถูกับวัตถุ ช่องหู หรือใบหูมีสีแดง หรือบวม ในบางตัวอาจมีสิ่งคัดหลั่งออกมาจากช่องหู ฯลฯ

           สำหรับวิธีการป้องการที่ดีที่สุด คือการรักษาความสะอาด ควรตรวจสอบช่องหูของสัตว์เลี้ยงทุกสัปดาห์ สุนัขบางตัวมีขี้หูน้อย บางตัวก็มีมาก แตกต่างกันไป ควรใช้สำลีหรือผ้านิ่มๆ เช็ดบริเวณรูหูส่วนนอก และใบหูเป็นประจำ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ถ้าพบว่าสุนัขของคุณสะบัดหู หรือเกาหูบ่อย ก็ให้นำไปพบสัตวแพทย์ เพราะอาจมีแมลงเข้าหูหรืออาจเกิดโรคหูอักเสบขึ้น
นอกจานี้ ชิสุ ยังมีโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น โรคนิ่ว โรคไต โรคผิวหนัง และไส้เลื่อน ทางที่ดีผู้เลี้ยงควรฉีดวัคซีนให้สุนัขตามกำหนดให้ครบ และใส่ใจเรื่องอาหาร และการออกกำลังกาย และหากผิดความผิดปกติใดๆ ก็ตามควรรีบพาสัตว์เลี้ยงแสนรักไปพบแพทย์เพื่อได้รรับการวินัจฉัยและการรักษาที่ตรงจุดต่อไป
 

สุนัข 

 "สุนัข" จำเป็นจะต้องได้รับ การดูแลเอาใจใส่จากเจ้าของ ทั้งในด้านการดูแลขน การอาบน้ำ การดูแลสภาพทั่วไปของหู ตา จมูกและเล็บเท้า รวมไปถึงการดูแลสุขภาพของเหงือกและฟัน ตลอดจนการออกกำลังกาย การได้รับอาหารที่ดี และการได้รับการตรวจสุขภาพจากสัตวแพทย์อย่างสม่ำเสมออีกด้วย

 วิธีการดูแล สุนัข...เบื้องต้นที่เราควรทราบง่าย ๆ ดังนี้

         1. ไม่ควรเลี้ยงลูกสุนัขไว้บนพื้นที่ลื่น เช่น พื้นกระเบื้อง หินอ่อนขัด เป็นต้น เพราะจะทำให้ขาสุนัขไม่สวย มันไม่สวยยังหรอ ขาจะแบะออกคล้ายๆกับว่ายืนได้ไม่มั่นคง

         2. ไม่ควรอาบน้ำให้ลูกสุนัขที่อายุยังไม่ถึง 3 เดือน ถ้ารู้สึกว่าสกปรกใช้ผ้าน้ำเช็ดขนข้างนอกก็พอ ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆ อาบน้ำแล้วให้รีบเช็ดและเป่าให้แห้ง เดี๋ยวสุนัขจะเป็นหวัด

         3. ระวัง! อย่าให้ลูกสุนัขมุดใต้กรง หรือใต้อะไรที่แข็งและเป็นคาน เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเข้าไปติด ถูกกดทับ หรือเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เส้นหลังเสียได้ (กระดูกสันหลังจะแอ่น)

         4. ควรดูแลรักษาปากและฟันของสุนัข อย่าให้กัดแทะของแข็งเกินไป เดี๋ยวฟันไม่แข็งแรง ควรหากระดูกเทียมให้สุนัขแทะเล่น เอากระดูกแบบสีขาวและมีฟลูออไรด์ด้วยจะได้ทำความสะอาดฟันสุนัขไปในตัว

         5. เมื่อสุนัขเริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาว (อายุ 7-8 เดือน) อย่าเพิ่งรีบให้ผสมพันธุ์ เพราะสุนัขยังไม่โตเต็มที่ อาจทำให้หยุดการเจริญเติบโตและทำให้ตัวเล็ก แล้วก็อาจจะแท้งหรือให้ลูกที่ไม่สมบูรณ์

         6. เมื่อเริ่มโตสุนัขจะเริ่มมีขนร่วง ไม่ต้องแปลกใจเป็นธรรมชาติของสุนัขที่มีการเจริญเติบโต

         7. อาหารที่ใช้ควรเป็นอาหารเม็ด เพราะสะดวกรวดเร็ว ถ้าให้อาหารธรรมดา(ทำเอง) สุนัขจะเลือกกินแล้วจะไม่กินอาหารเม็ด อย่าให้แทะกระดูกจริงเพราะเดี๋ยวจะไปทิ่มเอากระเพาะสุนัขจะติดคอได้ง่าย


         8. การฉีดวัคซีนและถ่ายพยาธิ ควรทำตามตารางที่สัตวแพทย์แนะ